วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องในวัยทีน

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องในวัยทีน คือตั้งครรภ์เมื่ออายุ 19 ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ 10-30 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก

ใน 10 ปีมานี้ ท้องในวัยทีนในประเทศไทย มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ.2536 เป็นกว่าร้อยละ 20 ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง 12 ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ

ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อท้องในวัยทีน ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก ปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้ เป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องวัยทีนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น

ทำไมวัยทีนไม่ควรท้อง?

นอก จากเหตุผลทางการแพทย์ เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอดสูงกว่าคนทั่วไป (แท้ง ทารกพิการ น้ำหนักน้อย ขาดอาหาร ทารกตายในครรภ์ คลอดยาก ตกเลือดหลังคลอด ฯลฯ)

เหตุผลทางด้านสังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยา (มารดาต้องหยุดเรียน รายจ่ายสูง รายรับน้อย ครอบครัวยากจนยิ่งขึ้น มารดาเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทำแท้งเถื่อน ทารกถูกทอดทิ้ง ทารกไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทารกเติบโตมาเป็นปัญหาของสังคม ฯลฯ)

ยังมีเหตุผลของปัจเจกบุคคล ส่งผลให้ท้องวัยทีนสร้างบาดแผลอันเจ็บปวดแห่งความทรงจำไม่รู้ลืม แก่ทั้งตัววัยทีนและผู้ปกครอง

ทำไมวัยทีนจึงท้อง? ในวัยรุ่นที่สมัครใจมีเพศสัมพันธ์ พบเหตุผลใหญ่ๆ 2 ประการ คือ 


  1. มี เพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด บ้างไม่รู้ว่ามีเพศสัมพันธ์แล้วท้อง บ้างเชื่อโดยไม่มีเหตุผลว่าตนเองไม่ท้อง บ้างคุมกำเนิดไม่เป็น บ้างไม่สนใจคุมกำเนิด บ้างไม่สามารถเข้าถึงการบริการคุมกำเนิด บ้างกลัวการคุมกำเนิด ฯลฯ

  2. มีความเชื่อที่ผิดๆ ในการคุมกำเนิดทั้งในวัยรุ่นหญิงชาย เช่น ไม่สวมถุงยางอนามัยเพราะกลัวถูกว่าสำส่อน รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ทำให้เป็นฝ้า มดลูกแห้ง ฯลฯ

ทำไมวัยทีนส่วนหนึ่งจึงเลือกไม่มีเพศสัมพันธ์? การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ 

  1. เป็น ความตั้งใจของวัยทีนแต่ละบุคคล บ้างเชื่อมั่นในคุณค่าของพรหมจรรย์ บ้างเชื่อฟังคำสั่งสอนพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ อีกส่วนหนึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนา

  2. กลัวการตั้งครรภ์

  3. กลัวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  4. ฝ่ายชายไม่เร่งเร้า (วัยรุ่นหญิง 3 ใน 4 คนที่มีเพศสัมพันธ์ ให้เหตุผลว่าเพราะฝ่ายชายขอ)

ทำอย่างไรจึงป้องกันท้องในวัยทีน?...ผู้เขียนขอเสนอ 14 วิธีป้องกันท้องในวัยทีน ดังนี้ 
  • . ล้อมรั้วด้วยรัก อภัย เข้าใจ และเห็นใจ ทั้งจากคนในครอบครัว และคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้จะสร้างความมั่นใจและให้กำลังใจ ทำให้วัยรุ่นที่เสียตัวไปแล้วไม่ตั้งครรภ์ ที่ตั้งครรภ์ไปแล้วก็จะไม่ท้องใน


    1. ประชาชน ทุกคนต้องเห็นความสำคัญของการป้องกันท้องในวัยทีน โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีที่จะช่วยกันอบรมสั่งสอน (เท่าที่จะเป็นไปได้) สอดส่องดูแลความประพฤติของวัยรุ่น ช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งผู้ปกครอง สถานศึกษา ตำรวจ ฯลฯ เมื่อพบความเสี่ยง

    2. สังคม ต้องมีส่วนรับผิดชอบ เช่น ลดการยั่วยุทางกามารมณ์ ไม่ปากว่าตาขยิบกับวัยรุ่น ไม่ว่าในสถานบันเทิง การขายสุรา การมั่วสุมในที่ต่างๆ ฯลฯ

    3. ครอบครัวต้องถือว่าเป็น หน้าที่หลักที่จะดูแลลูกหลานวัยรุ่นของตนเองอย่างใกล้ชิด ความรักและความใกล้ชิดทำให้ตรวจพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก

    4. พ่อ แม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจจิตวิทยาของวัยรุ่น ต้องพัฒนาตนเองให้ทันยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี การใช้ชีวิต ฯลฯ

    5. หาก มีลูกหลานเป็นชาย ควรสอนเขาตั้งแต่เด็ก ถึงความเป็นสุภาพบุรุษ ไม่ล่วงเกินเพศตรงข้าม หากยังไม่พร้อมและไม่สามารถรับผิดชอบเลี้ยงดู สร้างครอบครัวได้

    6. สร้างค่านิยมไม่มีเพศ สัมพันธ์ในวัยรุ่น คนเก่งต้องรู้จักเซย์โน สนับสนุนการสร้างปณิธานให้รักษาพรหมจรรย์จนถึงวัยอันควร โดยใช้ความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว, หลักการทางศาสนา, จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ฯลฯ

    7. สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องสนับสนุนองค์ความรู้ทางเพศศึกษา (รวมถึงการคุมกำเนิด) ที่ถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนที่นักเรียนจะเข้าสู่วัยรุ่น

    8. รัฐบาล ต้องถือว่าการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นนโยบายสำคัญ มีงบประมาณ กลยุทธ์ สนับสนุนองค์กรที่เกี่ยวข้อง และมีการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

    9. สื่อต่างๆ ควรสนับสนุนบทเรียนและการเรียนรู้ทางเพศศึกษาที่ถูกต้อง โดยมีดารานักร้อง ฯลฯ เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่วัยรุ่น

    10. นักเขียน นักแสดง ผู้จัดละคร ภาพยนตร์ ควรเสนอบทเรียนของการตั้งท้องวัยทีนให้แพร่หลาย ในหลากรูปแบบงานวรรณกรรม บันเทิงคดี ฯลฯ

    11. สถานพยาบาลควรมีคลีนิคให้คำปรึกษาวัยรุ่น ที่สามารถติดต่อปรึกษาได้ทุกเมื่อ

    12. แพทย์พยาบาลผู้ให้บริการต้องไม่มีอคติต่อวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

    13. มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยปรึกษาหาทางออกให้ เมื่อวัยรุ่นพลาดพลั้งตั้งครรภ์

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น