วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

10 อันดับนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกคนสำคัญของโลก

10Chopin
ผู้ประพันธ์เพลงและนักเปียโนเลือดผสมฝรั่งเศส - โปแลนด์ เกิดที่หมู่บ้านเซลาโซวา โวลา (Zelazowa Wola) ใกล้ กรุงวอร์ซอว์ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ (Poland) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1810 โชแปงเกิดในประเทศโปแลนด์ แต่ใช้ชีวิตตั้ง แต่วัยหนุ่มอยู่ในปาริสจนถึงแก่กรรม วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849 โชแปงมีพี่น้องผู้หญิงอีก 3 คน ส่วนเขาเป็นลูก ผู้ชายคนเดียว พ่อแม่จึงรักมาก โชแปงเป็นคนที่มี รูปร่างบอบบางจิตใจอ่อนไหวง่ายมีความรักชาติมากตั้งแต่เด็ก ๆ จนเป็นแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ดนตรีสำหรับเปียโนไว้มากมาย โชแปงเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 7 ขวบกับครูดนตรีชื่อ อดาลแบต์ ซิวนี (Adalbert Zywny) ชาวโบฮีเมีย เนื่องจากครูคนนี้ชอบดนตรีของบาค โมสาร์ท และเบโธเฟน เป็นพิเศษจึงถ่ายทอดความคิดของเขาให้โชแปง ต่อจากนั้นโชแปงได้เรียนกับครูคนใหม่ชื่อโยเซฟ เอ็ลสเนอร์ (Joseph Elsner) จนกระทั่งอายุได้ 16 ปีก็เข้าสถาบันดนตรีแห่งวอร์ซอว์ ซึ่งเอ็ลสเนอร์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ณ จุดนี้เองที่ทำให้โชแปงเรียนดนตรีอย่างเต็มที่ (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :105) ในสมัยนั้นเป็นช่วงของการอภิวัฒน์ทางศิลป์ และศิลปินเริ่มมีความสำคัญต่อสังคมมากขึ้น ทั้งนักดนตรี นักวาดรูป และนักประพันธ์ สามารถสมาคมกับข้าราชการหรือเจ้านายชั้นสูงในฐานะเท่าเทียมกัน โชแปงได้รับเชิญไปบรรเลงเปียโนเสมอมาจากการบรรเลงนี้รวมทั้งการสอนดนตรี ทำให้โชแปงสามารถช่วยตัวเองให้ดำรงอยู่ได้
 
 
 
9Tchaikovsky
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียคนแรกที่เป็นที่รู้จักในวงการนานาชาติ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน ของ อิลยา เปโตรวิช ไชคอฟสกี (Ilya Petrovititch Tchaikovsky) และ อเลกซานดรา (Alexandra) เกิดที่เมืองว็อทกินสค์ (Voltkinsk) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เป็นผู้ประพันธ์เพลงยอดนิยมคนหนึ่งในบรรดาผู้ประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกดนตรี ไชคอฟสกีเป็นคีตกวีที่แปลกไปกว่าท่านอื่น ๆ กล่าวคือทุกๆคนมักจะเรียนและเล่นดนตรีเก่งชนิดอัจฉริยะ ตั้งแต่อายุยังน้อยส่วนไชคอฟสกีมาเริ่มเรียนดนตรีจริงจังก็เมื่ออายุ 21 ปี เนื่องจากเขาต้องเรียนกฎหมาย ตามความต้องการของพ่อจนกระทั่งจบปริญญาตรีทางกฎหมาย และออกมาทำงานรับราชการในกระทรวงยุติธรรม แต่ด้วยความสนใจและความชอบซึ่งมีเป็นทุนอยู่แล้วไชคอฟสกีจึง หันเหชีวิตมาเรียนดนตรีอย่างจริงจังในสถาบันดนตรีแห่งเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในวิชาการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) เทคนิคการเล่นเปียโนและออร์แกน ชีวิตของไชคอฟสกีก็คงเหมือน ๆ กับคีตกวีคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือมีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปชีวิตเหมือนนิยายมากกว่าชีวิตจริง เพราะยามที่ตกอับจะมีกินก็เพียงประทังความหิว และมีที่อยู่อาศัยเพียงแค่ซุกหัวนอน ในยามเมื่อคนอื่นไม่เห็นคุณค่าผลงานของเขาก็ไม่มีค่าอะไร แต่ยังดีที่มีผู้ที่เห็นความสำคัญและคอยจุนเจือค้ำจุนเสมอมาอย่างแทบไม่น่าเชื่อเธอผู้นั้นก็คือ มาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) เศรษฐีนีหม้ายผู้มั่งคั่ง เธอให้เงินสนับสนุนไชคอฟสกีโดยไม่เคยหวังผลตอบแทนใด ๆ เธอมีความสุขที่ได้มีโอกาสสนับสนุนผู้อื่นให้ทำงานที่เธออยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะเธอเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักประพันธ์ดนตรีแต่ไม่สามารถทำได้ด้วยใจรักดนตรีในยามว่างจากภาระกิจเธอมักจะนั่งฟังดนตรีเสมอ ดั้งนั้นเธอจึงทดแทนส่วนนี้ด้วยการสนับสนุน ตามความเป็นจริงแล้วถ้าหากในโลกนี้มีคนดีอย่างมาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) มาก ๆ คงเป็นการดีและทำให้คนในวงการดนตรีมีโอกาสผลิตผลงานที่ดีออกสู่สาธารณะชนมากขึ้น ไชคอฟสกีผู้ซึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เขาไม่เคยได้รับเกียรติอย่างจริงจังจากชาวรัสเซียเลยตรงกันข้ามกับทางยุโรปและอเมริกานิยมชมชื่นในตัวเขามากขณะที่ชื่อเสียงกำลังโด่งดังอยู่นั้นเขาก็ด่วนจบชีวิตลงเสียก่อนซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่มากที่พยายามสร้างงานมากมายแต่บัดนี้เขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภูมิใจมากที่สุด (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :171) ไชคอฟสกีถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาต์ซึ่งเกิดจากความไม่เฉลียวใจหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จไชคอฟสกีไปเปิดน้ำประปาที่ก๊อกมาดื่มโดยไม่ได้นำมาต้มเสียก่อน เพราะขณะนั้นที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์กมีโรคระบาดพอดีและมีคนคอยเตือนแล้ว ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 . ผลงานที่มีชื่อเสียง ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Romeo and Juliet : Fantasy Overture 1870, Swan lake 1875-76, Eugene Onegin:Waltz 1879, The Nutcracker-Nutcracker March 1892….
 
 
 
8Handel
บิดาของฮันเดล นายจอร์จ ฮันเดล เกิดเมื่อปีค.ศ. 1622 เป็นศัลยแพทย์และช่างโกนหนวด นับถือนิกายลูเธอรัน และกลายเป็นพ่อหม้ายเมื่อปีค.ศ. 1682 เขาแต่งงานในปีต่อมากับโดโรเธอา เทาสต์ บุตรีของปาสเตอร์ที่อ่อนกว่าเขาหลายปี จอร์จ เฟรดริก เป็นบุตรชายคนโตของทั้งสอง และมีน้องสาวอีกสองคน บิดาใฝ่ฝันให้ฮันเดลประกอบอาชีพทางด้านกฎหมาย แม้ว่าเขาจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถโดดเด่นเกินวัยทางดนตรีก็ตาม พ่อยอมให้ฮันเดลเรียนดนตรีอย่างเสียไม่ได้ กับนักจัดแสดงดนตรีชื่อเฟรดริก วิลเฮล์ม ซาโชว ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้ทางดนตรีให้แก่ฮันเดลอย่างสมบูรณ์แบบ เขาหัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด ออร์แกน ไวโอลิน และโอโบ เขาเริ่มประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีและสำหรับขับร้องตั้งแต่วัยเยาว์ ในปีค.ศ. 1697 ขณะพำนักอยู่ที่นครเบอร์ลิน เขามีโอกาสได้พบกับกษัตริย์แห่งปรัสเซีย แต่เขาก็กลับมาที่เมืองฮัลล์ตามคำขอของบิดา ผู้ซึ่งเสียชีวิตเพียงสี่วันก่อนที่เขาจะเดินทางกลับถึงบ้าน เพื่อแสดงความเคารพต่อบิดา เขาก็ได้เขารับการศึกษาในสถาบันแห่งหนึ่ง พร้อมไปกับการเล่นดนตรี ราวปีค.ศ. 1702 เขาได้รับตำแหน่งในมหาวิหารเมืองฮัลล์ ในฐานะผู้จัดการแสดง และได้มีโอกาสผูกมิตรกับจอร์จ ฟิลิปป์ เทเลมันน์
 
 
 
7Verdi
ผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่า ชาวอิตาเลียน เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในเมืองรอนโคล (Le Roncole) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองบุสเซโต (Busseto) เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1813 เป็นลูกชายของคาร์โล แวร์ดี (Carlo Verdi) และลุยเจีย (Luigia) เป็นผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองของอิตาลีมาตลอดนอกเหนือจากเป็นนักดนตรี เมื่ออายุ 10 ขวบ พ่อได้ส่งเขาไปเรียนหนังสือที่เมืองบุสเซโต ซึ่งอยู่ห่างจากรอนโคลประมาณ 3 ไมล์ พ่อได้นำเขาไปฝากไว้กับเพื่อนที่สนิทคนหนึ่งมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรองเท้าอยู่ในเมืองนั้นเมื่อมีเวลาว่างแวร์ดีมักจะไปขลุกอยู่กับแอนโตนิโอ บาเรสซี่ (Antonio Barezzi) เจ้าของร้านขายของชำผู้มั่งคั่งและที่สำคัญที่สุดก็คือที่นั่นมีแกรนด์เปียโนอย่างดีทำมาจากกรุงเวียนนา แวร์ดีมักจะมาขอเขาเล่นเสมอ ๆ เมื่อบาเรสซี่เห็นหน่วยก้านเด็กคนนี้ว่าต่อไปอาจจะเป็นนักดนตรีผู้อัจฉริยะ จึงรับมาช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านขายของชำของเขาในตอนเย็นหลังจากเลิกโรงเรียนแล้วจากนั้นไม่นานนักเขาก็ตัดสินใจรับเด็กน้อยแวร์ดีมาอยู่ที่ร้านและอยู่ในความอุปการะของเขา ที่นี่เองเด็กชายวัย 14 ขวบ ก็ได้เล่นเปียโนดูเอทคู่กับมาร์เกริตา (Margherita) เด็กหญิงวัย 13 ขวบ ซึ่งเป็นลูกสาวของบาเรสซี่นั่นเอง ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 บาเรสซี่มักจะใช้เวลาส่วนมากมาคอยดูแลและนั่งฟังเด็กน้อยทั้งสองเล่นเปียโนด้วยความพอใจอย่างยิ่งเขาให้ความรักและสนิทสนมกับเด็กน้อยแวร์ดีอย่างลูกชายของเขาทีเดียว ผลงานส่วนใหญ่ของแวร์ดี คืออุปรากรหรือโอเปร่า (Opera) เพราะสมัยของแวร์ดีนั้น ชาวอิตาเลียนชอบชมอุปรากรมากแวร์ดีเป็นคนที่มีความเสียสละมาตลอดชีวิตเมื่อภรรยาและตัวเขาเองตายไปแล้วทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ถูกนำไปใช้สร้างอาคารสงเคราะห์ให้เป็นที่พักอาศัยของนักดนตรีที่ยากจนนอกนั้นก็นำไปใช้สร้าง โรงแสดงดนตรีแวร์ดี (Verdi Concert Hall) และพิพิธภัณฑ์แวร์ดี (Verdi Museum) ในเมืองมิลาน เป็นอนุสาวรีย์เตือนชาวโลกให้รำลึกถึงเขาในฐานะคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของ อิตาลีและของโลก การมรณกรรมของเขาจึงมิใช่เป็นการสูญเสียผู้ประพันธ์โอเปร่าที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น ผลงานที่มีชื่อเสียง ผลงานโอเปร่าที่เด่นประกอบด้วย Nabucco : Chorus 1842, Macbeth : Aria from Act III 1847,La traviata 1853, Aida : Triumphal Scene 1871
 
 
 
6Brahms
ผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นอีกคนหนึ่งชาวเยอรมัน แต่มาตั้งรกรากใช้ชีวิตนักดนตรีจนถึงแก่กรรม ณ กรุงเวียนนาเกิดที่เมืองฮามบวร์ก (Hamburg) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1833 บิดาชื่อ โยฮัน ยาค็อบ บราห์มส์ (Johann Jakob Brahms) ซึ่งเป็นนักดนตรีที่เล่นดับเบิลเบส (Double bass) ประจำโรงละคร เมืองฮามบวร์ก ในวัยเด็กบราห์มส์แสดงให้พ่อเห็นพรสวรรค์ทางดนตรีพออายุราว ๆ 5-6 ขวบพ่อก็เริ่มสอนดนตรีเบื้องต้นให้ ครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจนพ่อและแม่ต้องดิ้น รนและประหยัดเพื่อหาครูที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้มาสอนเปียโนและการประพันธ์ดนตรีให้แก่ลูกน้อยพ่อเองเคยได้รับบทเรียนมาก่อนเมื่อถูกกีดกันไม่ให้เรียนดนตรีในวัยเด็กต้องแอบฝึกซ้อมเอาเองเท่าที่โอกาสด้วยความที่พ่อเองรักดนตรีและบราห์มส์ก็ชอบดนตรีอย่างพ่อ พ่อจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่แม่เองก็เป็นคนที่รักดนตรีเช่นกันดังนั้นเขาจึงไม่มีอุปสรรคในเรื่องการเรียนดนตรีมีก็แต่ความขัดสนเรื่องเงิน อย่างไรก็ตามเพื่อให้ความหวังเป็นจริงพ่อจึงคิดหารายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่จึงแยกตัวออกจากวงออร์เคสตร้ามาตั้งวงขนาดย่อม ๆ แบบวงดนตรีเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) รับจ้างเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :176) บราห์มส์เรียนเปียโนกับ คอสเซ็ล (Cossel) เมื่ออายุ 8 ขวบ จากนั้นพออายุได้ 10 ขวบ ก็เปลี่ยนไปเรียนกับ มาร์กเซ็น (Marxsen) บราห์มส์ประพันธ์ดนตรีและรับจ้างเรียบเรียงแนวบรรเลงให้กับวงดนตรีเล็ก ๆ ตามร้านกาแฟและวงดนตรีของพ่อด้วย เขาเคยบอกว่ามีบ่อยครั้งที่คิดดนตรีขึ้นมาได้ระหว่างที่กำลังขัดร้องเท้าตอนเช้าตรู่ขณะที่คนอื่นยังไม่ตื่นMarion Bauer และ Ethel Peyser ได้กล่าวถึงผลงานและความสามารถของบราห์มส์ไว้ว่า “มันไม่ใช่ของง่ายที่จะเขียนถึงบราห์มส์โดยไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเกินความจิรง” หรือคำชื่นชมที่ว่า “ถ้าเราพูดถึงเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) เราต้องรับว่าเขาเข้าใจวิธีเขียนให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงอย่างไม่มีใครทำได้ดีเท่าทั้งก่อนและหลังสมัยของ บราห์มส์” “ใครพบที่ไหนบ้างว่ามีไวโอลิน คอนแชร์โต้ (Violin Concerto) และเปียโน คอนแชร์โต้ (Piano Concerto) ที่สวยสดงดงามยิ่งกว่าของบราห์มส์”ที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบราห์มส์ว่าเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปและผลงานของเขาก็ยังถือว่าเป็นอมตะตลอดกาล ด้วยความที่บราห์มส์เป็นคนที่สุภาพถ่อมตัวมาก หากเขายังอยู่เขาคงป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ชนรุ่นหลัง ๆ ยกย่องชมเชยเขาเนื่องจากผลงานของบราห์มส์เขียนขึ้นมาด้วยความหวังผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุ เขาคงจะพอใจที่มีคนเข้าใจเขาเช่นนี้ เพราะมันเป็นความจริงที่เขาเองคงอยากให้คนทั้งโลกรู้และปฏิบัติตาม ผลงานที่มีชื่อเสียง ผลงานดนตรีของบราห์มส์ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกอัดอั้นตันใจในความรัก ดนตรีของบราห์มส์ที่เด่นประกอบด้วย Four Ballades 1854, Cradle Song 1868, Symphony No.1 in Cm 1876, etc….
 
 
 
5Haydn
ผู้ประพันธ์เพลงยิ่งใหญ่เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งชื่อโรห์เรา (Rohrau) อยู่ในภาคใต้ของออสเตรีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1732 ถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1809เขาเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 12 คนของครอบครัวชาวนายากจนที่รักดนตรี เมื่อเขาอายุได้ 8 ปี เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงของโบสถ์เซนต์ สติเฟน ( St Stephen) แห่งเวียนนา หลังจากอยู่ที่นั่น 9 ปีในปี 1749 เขาออกจากที่นั่นเพราะเสียงแตก เขาไม่มีเงินไม่มีบ้านเขาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลง เล่นฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) และสอนดนตรี ตลอดเวลาเขาฝึกหัดและเรียนดนตรีอย่างต่อเนื่องเขาเริ่มแต่งเพลงและได้เป็นผู้นำวงออร์เคสตราของเคานต์ มอร์ซิน (Count Morzin of Bohemia) ซิมโฟนีชิ้นแรกของเขานำไปสู่การรับรองในปี 1761 ต่อจากนั้นไฮเดินก็ต้องออกมา อยู่กับเจ้าชายปอล แอนตัน อีสเตอร์ฮาซี่ (Prince Paul anton Esterhazy) เขาทำงานกับ ตระกูลอีสเตอร์ฮาซี่เป็นเวลา 30 ปี โดยความเป็นจริงเป็นเหมือนคนรับใช้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี โอเปร่าและเชมเบอร์ มิวสิกเป็นจำนวนมากเขามีชื่อเสียงมากในยุโรปด้านดนตรี เขาพบ Mozart ตอนเด็ก ๆ ในปี 1781 และกลายเป็นเพื่อนสนิทกันและชื่นชมในดนตรีของกันและกันมาก เมื่อเจ้าชาย นิโคลาส ‘The Magnificent’ แห่งตระกูลอิสเตอร์ฮาซีได้สิ้นพระชนม์ลงในปี 1790 เขาถูกปลดออกโดยผู้รับตำแหน่งต่อเขาได้รับเงินบำนาญและรายได้เข้าจากสาธารณะชนและนักเรียนของเขา จากนั้นย้ายกลับเวียนนาและถูกเชิญไปลอนดอนโดย เจ.พี. ซาโลมอน (J.P. Salomon) เพื่อไปจัดแสดงคอนเสิร์ต ในระหว่างการเดินทางนี้เป็นการเดินทางไปอังกฤษครั้งที่ 2 โดยตกลงจะประพันธ์เพลงให้ 12 เพลง คือชุด London symphonies เพลงสุดท้าย เขาถูกเชิญให้ประพันธ์ ออราทอริโอ (Oratorio) ในสไตล์ของไฮเดิล (Handel) เขาประพันธ์ได้ 2 เรื่องและดนตรีของเขาเปลี่ยน the majesty of the Baroque ไปเป็นการเริ่มต้นของศตวรรษที่ 19 โดย Choruses เช่น The Heavens are Telling from The Creation แสดงครั้งแรกในปี1798 ปัจจุบันรู้จักในชื่อว่า The father of the Symphony and the String quartet ที่จริงแล้วเขาไม่ได้คิดค้นมันขึ้นเองทั้ง 2 เรื่องแต่ได้พัฒนามันจากรูปแบบที่มีอยู่ก่อนแล้วทั่วยุโรป ไฮเดิลประพันธ์ Sonatas, quartets, symphonies, operas,concertos เป็นจำนวนหลายร้อย ดนตรีของเขาดูง่ายมีเสน่ห์มีการต่อสู้ของแฟนซีและตลกที่แท้จริงผสมอยู่ใน Classical veneer ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ The Surprise ในท่อน (movement) ที่ 2 ของซิมโฟนีของเขา No. 94 in G major แต่การทำตามความคิดของเขาจะพบได้ใน The finale of the Symphony no. 82 หรือเรียกอีกชื่อว่า The bear เป็น The bass drone และ Chortling bassoons ซึ่งเป็นเรื่องของหมีที่เต้นรำ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิในปี 1809 กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน ยกทัพเข้ายึดครองเวียนนา ออสเตรียไว้ได้ เขาเศร้าเสียใจมากกับการเสื่อมอย่างรวดเร็วและได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบในวันที่ 31 พฤษภาคม 1809 ทหารฝรั่งเศสที่กำลังยึดครองเวียนนาอยู่ขณะนั้นได้ทำพิธีฝังศพให้แก่เขาอย่างสมเกียรติ ณ โบสถ์แห่งหนึ่งในเวียนนา
 
 
 
4Schubert
Franz Schubert เกิดที่ Himmelpfortgrund ซึ่งอยู่แถวชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1797 บิดาเป็นครูของโรงเรียนประจำท้องถิ่น ส่วนมารดาเคยเป็นแม่ครัวมาก่อนแต่งงาน ชูเบิร์ตมีพี่น้องรวมทั้งตัวเขาเองถึงสิบห้าคนแต่น่าเศร้าที่ว่าพี่น้องของเขาร่วมสิบคนได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็กยังเล็ก บิดาของเขายังเป็นนักดนตรีสมัครเล่นและได้ถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ให้กับบรรดาลูกชายที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ด้วยอายุเพียงห้าขวบ ชูเบิร์ตได้รับการถ่ายทอดเรื่องดนตรีจากบิดาและอีกหนึ่งปีหลังจากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนที่บิดาเป็นครูสอน อายุได้เจ็ดขวบก็เก่งเกินกว่าครูสอนดนตรีธรรมดาๆ จะสอนได้ เขาเลยไปเรียนกับ Michael Holzer ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดนตรีในโบสถ์แห่งหนึ่ง อายุสิบเอ็ดปี ได้รับทุนไปเรียนดนตรีที่โรงเรียนชื่อดังในกรุงเวียนนาภายใต้การดำเนินงานของ Antionio Salieri เป็นเวลาหกปี น่าตลกที่ว่าเขาได้รับประโยชน์จากการสอนเพียงน้อยนิดหากเทียบกับการฝึกหัดกับวงของโรงเรียนและการช่วยเหลืออย่างอบอุ่นจากบรรดาเพื่อน ๆ ในการผลิตผลงานทางดนตรีอย่างมากมาย ชูเบิร์ตคลุกคลีอยู่กับเพื่อนผู้ชายกลุ่มใหญ่ ๆ และลักษณะนุ่มนิ่มของเขาทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าเขาอาจจะเป็นพวกรักร่วมเพศ ปี 1813 ชูเบิร์ตมาเป็นครูสอนโรงเรียนเดียวกับบิดาของเขาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นช่วงที่สุดแสนจะน่าเบื่อและผลงานที่ผลิตออกมาก็ไม่สู้จะสำเร็จนัก สองปีต่อมาชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไปเมื่อลูกศิษย์ที่อยู่ในตระกูลมั่งคั่งได้เสนอให้เขาลาออกจากโรงเรียนและหันมาแต่งเพลงเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาก็ต้องตกอับเพราะไม่ประสบความสำเร็จทั้งในการสอนดนตรีตามบ้านและการแสดง กระนั้นเขาก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนๆ อีกเช่นเคย นิสัยของชูเบิร์ตซึ่งเป็นที่รู้จักันดีคือเขามักจะตื่นแต่เช้าเพื่อประพันธ์เพลงไปจนถึงเที่ยงวันก่อนจะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในยามบ่าย แต่แล้วเหมือนกับฟ้าจะกลั่นแกล้งในปี 1822 ชูเบิร์ตพบว่าตัวเองติดเชื้อ Syphillis (ซึ่งสมัยนั้นคงจะร้ายแรงเหมือนกับเชื้อ HIV) มีคนสันนิฐานว่าเขาอาจจะติดโรคร้ายนี้มาจากสาวใช้ของบ้านที่เขาไปสอนดนตรีในฤดูร้อนฤดูหนึ่ง นายแพทย์แนะนำให้เขาไปพักกับพี่ชายที่ชานเมืองของเวียนนาอีกที่หนึ่ง (ฝรั่งไม่ได้บอกว่าทำไม เดาว่าที่นั่นอาจจะมีอากาศดีกว่า) แต่แล้วเขาก็ติดโรคไทฟอยด์อีกโรคหนึ่ง ว่ากันว่า ชูเบิร์ตได้เดินทางไปเยี่ยมเบโธเฟ่นซึ่งนอนป่วยอยู่บนเตียงนอนใน ปี 1827 เมื่อคีตกวีที่ชูเบิร์ตเทิดทูนบูชาได้เสียชีวิตลง ชูเบิร์ตมุ่งมั่นที่จะช่วยแบกโลงศพของเบโธเฟ่น (บางแห่งบอกว่าเป็นคนถือคบไฟนำหน้าขบวน) หลังจากงานศพได้สิ้นสุดลง เขากับเพื่อนก็ไปทานอาหารที่ภัตตาคาร มีการดื่มสำหรับผู้วายชนม์ โดยหารู้ไม่ว่าในอีกหนึ่งปีข้างหน้าชูเบิร์ตก็เป็นผู้วายชนม์เหมือนกัน แต่ก่อนที่คีตกวีเอกของเราจะเสียชีวิต เขาได้ร้องขอให้ศพของเขาถูกฝังใกล้ๆ กับเบโธเฟ่น หลุมฝังศพของคนทั้งคู่อยู่ในสุสาน Waehringer ในกรุงเวียนนา ในงาน เพื่อนคนหนึ่งของเขาได้อ่านบทกวีอันน่าซาบซึมใจ
 
 
 
3Mozart
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (เยอรมัน: Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย
 
 
 
2Beethoven
ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) อยู่ด้วย ความยิ่งใหญ่ของเขาไม่ได้ปรากฏอยู่ที่ผลงานการประพันธ์เพลงเท่านั้น แต่ประวัติชีวิตของคนที่ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตาของเขานั้นยิ่งใหญ่และเป็นที่เล่าขานไม่แพ้ผลงานเพลงอันเป็นอมตะเลยทีเดียว เหมือนกับคีตกวีที่ยิ่งใหญ่หลายคนที่มีเบื้องหลังชีวิตที่ขมขื่น บีโธเฟน เกิดที่กรุงบอนน์ (อดีตเมืองหลวงประเทศเยอรมนีตะวันตก) เมื่อปลายปี ค.ศ.1770 เป็นบุตรของนักร้องประจำราชสำนักแห่งกรุงบอนน์ นามว่า โยฮานน์ (Johann) มารดานาม Maria Magdalena ชีวิตในวัยเด็กของบีโธเฟน นั้นแสนขมขื่น ท่ามกลางความอัตคัด ขัดสนของครอบครัว พ่อนักร้องขี้เมา พยายามปั้นบีโธเฟนให้เป็น "โมสาร์ท สอง" โดยหวังจะให้ทำเงินหาเลี้ยงครอบครัว (บีโธเฟนเกิดหลังโมสาร์ท 15 ปี) พ่อสอนดนตรีบีโธเฟนน้อยวัย 4-5 ขวบ ด้วยการบังคับให้ฝึกหัดบทเรียนเปียโนที่ยาก ซึ่งถ้าเล่นไม่ได้ก็ทำโทษ เป็นที่คาดเดาในภายหลังว่า ที่บีโธเฟนยังรักดนตรีอยู่ได้ก็เพราะภาพลักษณ์ของคุณปู่ซึ่งเป็นนักร้องประจำราชสำนักที่ประสบความสำเร็จ โยฮานน์พยายามโปรโมตบีโธเฟนน้อย (อายุ 8 ขวบ) ให้เป็นเด็กนักเปียโนมหัศจรรย์อายุ 6 ขวบ แต่ผู้คนไม่ได้ให้ความสนใจนัก พอแผนการไม่ประสบผล โยฮานน์จึงเปลี่ยนจุดหมายให้บีโธเฟนเป็นนักดนตรีอาชีพให้เร็วที่สุด โดยจัดหาคนมาสอนดนตรีเพิ่มเติม อายุ ได้ 11 ขวบได้เข้าทำงานเป็นนักออร์แกน ผู้ช่วยประจำราชสำนัก อัจฉริยภาพของ บีโธเฟนน้อยได้ฉายแววให้เห็น ขณะที่บีโธเฟนทำงานเป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก ก็ได้พยายามศึกษาเล่าเรียนดนตรีไปจนมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง ขณะเดียวกันก็พยายามศึกษาหาความรู้และพัฒนาความคิดอ่าน จากพื้นฐานความรู้เพียง ป.4 (Grade 4) ที่ได้เรียนมา เพื่อให้สามารถเข้าสังคมกับปัญญาชนและผู้มีอันจะกิน และเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต พออายุได้ 17 ปี ได้รับการสนับสนุนจากผู้หลักผู้ใหญ่และ เพื่อนผู้มีอันจะกิน ให้มีโอกาสไปเยือนกรุงเวียนนาเป็นครั้งแรก มีคำบอกเล่าว่า บีโธเฟนได้แสดงฝีมือด้านเปียโนสดให้โมสาร์ทฟัง จนโมสาร์ทบอกกับคนรอบข้างให้จับตาดูคนนี้ไว้ และว่า วันหนึ่งเขา จะสร้างผลงานให้คนทั้งโลกกล่าวถึง บีโธเฟนอยู่ที่เวียนนาได้ไม่ถึง 2 อาทิตย์ก็ต้องรีบเดินทางกลับกรุงบอนน์เพราะได้รับข่าวว่าแม่ป่วยหนัก หลังจากที่แม่สิ้นชีวิตลง เขาต้องทำงานหนักเพื่อดูแลครอบครัว ซึ่งมีทั้งพ่อและน้องอีก 2 คน ปี ค.ศ.1792 ระหว่างทางที่โยเซฟ ไฮเดน (Joseph Haydn) ปรมาจารย์ทางดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุค เดินทางกลับจากอังกฤษ ได้แวะเยี่ยมเยียนราชสำนักกรุงบอนน์ เป็นโอกาสที่บีโธเฟน ได้เข้าพบ และโชว์ผลงานการประพันธ์ดนตรี ไฮเดนทึ่งในความสามารถและเห็นแววอัจฉริยะของบีโธเฟน ได้เสนอให้ไปเรียนดนตรีที่กรุงเวียนนากับเขา ซึ่งแผนการนี้ก็เป็นจริงจากการสนับสนุนของหลายฝ่ายเมื่อปลายปี สัมพันธภาพระหว่างอาจารย์และศิษย์ต่างวัยเป็นไปได้ไม่ดีนัก ด้วยศิษย์เป็นหนุ่มไฟแรงอารมณ์ร้อน หยิ่ง และดื้อรั้น ตัวบีโธเฟนเองก็ไม่พอใจการสอนของไฮเดน แต่ก็ยังเกรงใจอาจารย์ผู้อาวุโส เขาจึงแอบย่องไปเรียนกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงหลายคน โดยระหว่างนั้น บีโธเฟนเองก็มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเปียโนที่มีความสามารถด้านเปียโนสดได้เก่งที่สุดแห่งยุค ต่อจากโมสาร์ท ซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว ชื่อเสียงและความสามารถในการเล่นเปียโนของ บีโธเฟน ทำให้ฐานะทางการเงินดีขึ้น แต่ เขายังไม่ได้แสดงผลงานเพลงออกสู่สาธารณะ เพราะอยู่ระหว่างฝึกวิทยาศิลป์ หลังจากจบการศึกษาดนตรีกับอาจารย์ ไฮเดนและอื่นๆ ในปี 1795 เขาได้แสดงผลงานเพลงและเริ่มสร้างชื่อเสียงในฐานะนักประพันธ์ดนตรีอย่างเต็มตัว ผลงานเพลงยุคแรกของบีโธเฟน จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับดนตรีของไฮเดน และโมสาร์ท แต่ก็ยังแฝงความเป็นบีโธเฟนอยู่ด้วย และได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างรวดเร็ว ผลงานช่วงนี้ของบีโธเฟนที่น่าสนใจ ได้แก่ เปียโนทรีโอ 1 เปียโนโซนาตา 2 เปียโนโซนาตา 7 เปียโนโซนาตา 13 (Pathetique) เป็นต้น บีโธเฟนเป็นคนที่มีความทะเยอ ทะยานสูง หยิ่ง เจ้าอารมณ์ และรักเสรี ภาพเป็นชีวิตจิตใจ สาเหตุอาจมาจากความเก็บกดจากสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก และบีโธเฟนมีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกับนโปเลียน เชื่อว่าเขาได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวของนโปเลียนเป็นอย่างมาก เขามีแนวความคิดเป็นนักปฏิวัติทั้งในด้านดนตรีและความคิดทางสังคม เขามักได้รับการตำหนิจากปรมาจารย์อาวุโส ว่า แต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรีและออกนอกรีตนอกรอย บีโธเฟนไม่ฟังคำตำหนิเหล่านั้น ยังคงพัฒนาดนตรีไปตามแนวทางของตนอย่างเอาจริงเอาจัง โดยมีความใฝ่ฝันจะสร้างผลงานดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงสร้างได้ สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่คือการสอดแทรก ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนลงในดนตรี ซึ่งถือเป็นสิ่งผิดวิสัยในยุคนั้น (ที่เรียกว่า Classical period) ดนตรีขั้นสูงคือรูปแบบทางศิลปที่สมบูรณ์ สูงส่ง และอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่นั้นกลับเป็นการพลิกโฉมหน้าของโลกศิลปการดนตรี และทำให้นักวิชาการด้านดนตรี ต้องตั้งชื่อยุคของดนตรีขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก (Romantic Period) การปฏิบัติตัวในสังคม บีโธเฟน ปฏิเสธการเป็นนักดนตรีในฐานะคนรับใช้ ของผู้มีอันจะกิน ทุกครั้งที่เขารับจ้างไปแสดงดนตรีในสถานที่ส่วนตัว เขาจะต้องได้รับการปฏิบัติดังเช่นแขกผู้ได้รับเชิญ ได้ร่วมโต๊ะอาหารกับเจ้าบ้าน ค่าจ้าง คือ สิ่งตอบแทนด้วยมิตรภาพ เขาจะแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างไม่เกรงใจ ถ้าไม่ได้รับการปฏิบัติต่อเขาอย่างเหมาะสม บีโธเฟนประสบความสำเร็จในด้านการงานได้ไม่นาน เคราะห์กรรมก็กลับมาเยี่ยมเยือน เขาได้รับของขวัญส่งท้ายศตวรรษเก่าเข้าสู่ศตวรรษใหม่เป็นอาการหูหนวก เป็นเคราะห์กรรมที่น่าเกลียดยิ่ง สำหรับนักดนตรีที่กำลังฉายแววความยิ่งใหญ่ หลังจากที่บีโธเฟนตระหนักว่า อาการหูหนวกของเขาไม่สามารถจะรักษาได้และมีอาการรุนแรงจนถึงหนวกสนิท วันที่ 6 ตุลาคม ปี ค.ศ.1802 เขาได้เขียนจดหมายกึ่งลาตายกึ่งพินัยกรรม ถึงน้องชายทั้งสองของเขา แต่อีก 4 วันต่อมาก็เขียนอีกฉบับมีใจความล้มเลิกความคิด บีโธเฟนค่อยๆ รักษาแผลในใจ ที่เกิดจากเคราะห์กรรมที่ได้เผชิญ จนจิตใจเขาแข็งแกร่งกว่าที่เคย ดนตรีของเขาในช่วงนั้นจึงแสดงถึงเรื่องราวของฮีโร่ ความรู้สึกต่อชัยชนะ ธรรมชนะอธรรม และความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งก็ตรงกับชีวิตจริงของเขาที่แต่งเพลงสู้กับหูหนวก และยังได้ผลงานที่ยอดเยี่ยมฝากไว้ให้ชาวโลกสมความตั้งใจ ผลงานที่น่าสนใจในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 3 (Eroica) ซึ่งเดิม บีโธเฟนคิดจะอุทิศให้นโปเลียน แต่ภายหลังได้เปลี่ยนใจ เพราะผิดหวังที่นโปเลียนมีความทะเยอทะยานเกินขอบเขต ซิมโฟนีหมายเลข 5 ยอดนิยมตลอดกาล ซิมโฟนีหมายเลข 6 (Pastorale) ไวโอลิน คอนแซร์โต ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ และเปียโนคอนแซร์โต หมายเลข 5 (Emperor) เป็นต้น แม้บีโธเฟนจะประสบความสำเร็จ ด้านดนตรีอย่างสูงสุด แต่ในเรื่องความรักเขานั้นห่างไกลนัก อกหักซ้ำซากเป็นเรื่องปกติ ด้วยความไม่คงเส้นคงวาเรื่องอารมณ์ เอาใจยาก และเข้าใจยาก ทำให้ สาวๆ ไม่กล้าเข้ามาใช้ชีวิตร่วมด้วย ถึงแม้ชีวิตจริงดูจะห่างจากความรักที่เป็นรูปธรรม แต่เขากลับได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งดนตรีโรแมนติก ท่านสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยการฟังเพลง Piano Sonata หมายเลข 14 27 No.2 ("Moonlight") ท่อนช้า (Adagio Sostenuto) และเพลงเปียโนยอดนิยมตลอดกาล Fur Elise เป็นต้น ช่วงบั้นปลายของชีวิต พร้อมกับอาการหูหนวกสนิท เขากลายเป็นคนแก่อารมณ์ร้าย มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับ คนรอบข้างรวมทั้งน้องชายของเขาเอง ช่วงเวลานี้เขาผลิตผลงานออกมาไม่มากแต่ถือเป็นผลงานที่สำคัญยิ่ง เป็นดนตรีที่พัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของความเป็นบีโธเฟนเต็มไปด้วยพลังความยิ่งใหญ่ ความซับซ้อนที่ยากจะหยั่งถึง เป็นดนตรี ที่ดังกระหึ่มอยู่ในตัวตนโดยปราศจากเสียงรบกวนใดๆ จากภายนอก ดนตรีใน ช่วงสุดท้ายของบีโธเฟน ที่สำคัญก็ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ("Choral Symphony") เพลงสรรเสริญพระเจ้า Solemn Mass in D และ String Quartet หมายเลขท้ายๆ (127, 130-133, 135) เป็นต้น ปิดฉากชีวิตคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1827 ที่กรุงเวียนนาด้วยโรคตับ ซึ่งป่วยยืดเยื้อมาระยะหนึ่ง พิธีศพที่จัดขึ้นให้แก่เขานั้นยิ่งใหญ่ มีผู้คนร่วมงานนับหมื่นคน แม้ร่างกายเขาได้จากโลกนี้ไปแล้วกว่า 170 ปี แต่ผู้คนบนโลกในยุคสมัยต่อมาก็ยังคงเคารพ และยกย่องมิรู้ลืม เขายังคงเป็นสัญลักษณ์คีตกวีของโลกตลอดกาล และผลงานเพลงอันไพเราะที่เขาได้สรรค์สร้างไว้ก็ยังคงอยู่คู่โลกไปอีกนานเท่านาน ลุดวิก แวน บีโธเฟน
 
 
 
1Bach
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักเล่นออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค (Eisenach) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลปซิค ผลงานของบาคกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และ เบโทเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุม ด้วยความพิถิพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่างๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคมีความเป็นอมตะจนถึงปัจจุบัน
 


แหล่งอ้างอิง : http://www.toptenthailand.com/display.php?id=3311

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น